ด้วยสภาพอากาศของเมืองไทย จะมีอากาศที่ต้องบอกได้เลยว่า มีอากาศร้อนตลอดทั้งปีไม่ว่าจะพื้นที่ไหนๆ หรือในฤดูไหนก็ตาม การแก้ปัญหาหาของบ้านพักที่คนส่วนใหญ่มักทำกันคือ การติดแอร์ภายในบ้าน เพื่อทำให้ บ้านเย็น ซึ่งถือเป็นวิธีเบื้องต้นในการช่วยให้อากาศในบ้านเย็นขึ้น แต่อันที่จริงแล้วการทำให้บ้านเย็น สามารถทำได้ด้วยเทคนิคการสร้างบ้าน ด้วยหลักการหลักๆที่ทำให้บ้านเย็นคือ การกันร้อนที่หลังคาและฝ้า ด้วยระบบหลังคาและฝ้าเย็น ได้รวมเทคโนโลยี การสะท้อน กันร้อน และระบายความร้อนเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งแต่ละส่วนของบ้านที่ใช้วัสดุเพื่อการสะท้อน กันร้อน และระบายความร้อน มันจะสามารถลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาได้ถึง 23%-45%*

บ้านเย็น

ระบบ บ้านเย็น แบ่งตามการใช้งานได้

หลังคา เป็นจุดที่รับความร้อนมากที่สุด เราพัฒนาตัวฉนวนอย่างหนาให้เป็นมาตรฐานใหม่สำหรับการกันร้อนระดับสูงมากเป็นพิเศษ นำมาหุ้มด้วยแผ่นอลูมินั่มฟอยล์ทำหน้าที่สะท้อนและกันความร้อน โดยติดตั้งใต้กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย  และเอ๊กซ์เซลล่าทุกรุ่น เราเรียกว่า แผ่นสะท้อนความร้อนรุ่น ULTRA KOOL ช่วยสะท้อนรังสีความร้อนและป้องกันความร้อนไม่ให้ผ่านหลังคาลงมาง่ายๆ

แต่ความร้อนบางส่วนยังไหลผ่านลงมาในโถงหลังคาได้ ต้องกันความร้อนอีกชั้นหนึ่งที่ฝ้าชั้นบนของบ้านด้วยฉนวนกันร้อนอย่างหนา 6 นิ้ว รุ่น STAY COOL ซึ่งจะช่วยกักเก็บความร้อน มีน้ำหนักเบา สามารถวางบนแผ่นฝ้าที่มีอยู่เดิมได้โดยไม่ปรับเปลี่ยนฝ้า  และการระบายอากาศที่ชายคา ให้ใช้แผ่นฝ้าที่มีรูระบายอากาศสำเร็จรูปจากโรงงาน มาติดแทนฝ้าแบบทึบคือฝ้าตราช้างสมาร์ทบอร์ด รุ่นระบายอากาศ ซึ่งจะรับลมเย็นและไล่อากาศร้อนออกได้ง่ายขึ้น

บ้านเย็น

วิธีง่าๆที่สามารถทำให้บ้านเย็น>

เปิดหน้าต่าง

หน้าต่างไม่ได้เจาะเอาไว้เพื่อเป็นหลุมของผนังเท่านั้น แต่มีไว้ให้เปิดปิดเพื่อที่อากาศจะได้ระบายออก ตามหลักการของแบร์นูลลี อากาศด้านบนและด้านใต้ลมของบ้านจะเป็นพื้นที่ความดันต่ำกว่าทางด้านเหนือลม หากบ้านที่มีหน้าต่างบานเลื่อนขึ้นลง ก็สามารถเปิดส่วนด้านล่างของด้านเหนือลมของบ้านและส่วนบนของด้านใต้ลม ซึ่งจะทำให้ความดันต่ำจะดูดอากาศออกไปจากตัวบ้าน

ติดพัดลมเพดาน

หลักการทำงานของพัดลมนั้นสามารถเปลี่ยนความชื้นในตัวมนุษย์ให้ระเหยออกไปและทำให้รู้สึกเย็น ฉะนั้นการใช้พัดลมแพด้านก็เป็นการระบายความร้อนโดยตรงจากตัวมนุษย์ ซึ่งประหยัดการระบายความร้อนภายในห้องทั้งหมด

ติดตั้งพัดลมใต้ห้องหลังคา

แทนที่จะเสียค่าไฟไปกับเครื่องปรับอากาศที่ต้องทำงานหนัก ก็แทนที่ด้วยพัดลมที่ก่อให้เกิดการไหวเวียนของอากาศโดยไม่ต้องอาศัยกำลังไฟฟ้าที่มากขึ้น ประหยัดทั้งเงินในกระเป๋าและช่วยลดสารที่ทำให้เกิดโลกร้อนอีกทางหนึ่งด้วย

ปลูกต้นไม้

การปลูกต้นไม้นอกจากจะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้อากาศ ยังเป็นแนวกันความร้อนตามธรรมชาติชั้นดีสำหรับอาคารบ้านเรือน ไม่ว่าจะเป็นการปลูกลงดินหรือกระถางตามแนวผนังบ้านที่ให้ทั้งการกรองแสงและเก็บกักความเย็น หรือปลูกเป็นร่มเงาให้กับบ้านก็ได้

ใช้กันสาด

วอชิงตันโพสต์ได้รายงานตามข้อมูลของกระทรวงพลังงานระบุว่า การใช้กันสาดสามารถลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้  โดยหน้าต่างทางทิศใต้มีความเสี่ยงในการได้รับรังสีความร้อนถึงร้อยละ 65 ในขณะที่หน้าต่างทางทิศตะวันตกมีความเสี่ยงร้อยละ 77  โดยข้อมูลใน “Planet Green” ได้ระบุว่าในฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา การใช้กันสาดสามารถแปลเป็นการประหยัดพลังงานได้ร้อยละ 26 ในสภาพอากาศที่ร้อน และร้อยละ 33 ในสภาพอากาศที่หนาว

ทาสีหลังคา

ได้มีงานวิจัยออกมาว่าการทาหลังคาสีขาวนั้นช่วยลดความร้อนลงได้ และการประชุมวิชาการว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็ยังแนะนำว่า ถ้าอาคารและพื้นผิวถนนถูกปกคลุมไปด้วยสีซึ่งให้ความสว่าง และพื้นผิวที่สะท้อนความร้อนนั้นจะช่วยลดความร้อนและทำให้เมืองเย็นขึ้นได้

ติดตั้งระแนงหน้าต่างกรองแสง

วิธีการที่ดีที่สุดหากไม่อยากพบเจอกับความร้นคือการป้องกัน การมีระแนง ผ้าม่านห มูลี่ หรือหน้าต่างแบบสองชั้นก็สามารถช่วยกรองแสงเข้ามาในตัวบ้านได้

อย่าทำอาหารในบ้าน

การทำอาหารในบ้านเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้บ้านต้องรับกับอุณหภูมิความร้อน ยังไม่รวมถึงมลพิษจากควันที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ยิ่งทำในขณะเปิดเครื่องปรับอากาศ ยิ่งเพิ่มภาระให้เครื่องทำงาน เปลืองทั้งค่าไฟ เสียทั้งสุขภาพ พร้อมกับกลิ่นที่อาจติดทนเครื่องใช้และเสื้อผ้าก็เป็นได้

เทคนิคการสร้างบ้าน”บ้านเย็น”

 

***โดยวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ล้วนเป็นวิธีที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมราคาแพง ในการระบายความร้อน ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ให้ทั้งการประหยัดเงิน  และช่วยลดการใช้พลังงาน เรามาพิจารณาตัวเลือกง่ายๆ ธรรมดา ซึ่งอาจได้ผลลัพท์ไม่ต่างกับการติดตั้งระบบ หรือนวัตกรรมที่มีราคาแพง