อุปกรณ์เสริมประตู ที่สำคัญในการสั่งการให้ประตูอัตโนมัติ สามารถทำงานได้อย่างสมบรูณ์ คือตัวรีโมทคอนโทรล และมอเตอร์ที่ต้องคอยดูแลรักษา เพื่อยื่นระยะเวลาในการใช้งาน เพราะจะเป็นตัวขับเคลื่อนโดยตรงไปยัง ประตูรีโมท  เราควรทราบถึงข้อควรระวัง และการดูแลรักษาเบื้องต้นของุปกรณ์ทั้งสองชนิดนี้

อุปกรณ์เสริมประตู ประตูรีโมท ประตูอัตโนมัติ

การดูแลรักษา อุปกรณ์เสริมประตู

อุปกรณ์เสริมประตู ประตูรีโมท ประตูอัตโนมัติ

ข้อควรระวังและการดูแลรักษารีโมทคอนโทรล

  • ไม่ควรกดรีโมทแช่ไว้เป็นเวลานาน หรือติดก่อนหลายครั้ง เพราะจะทำให้อายุ การใช้งานของแบตเตอรี่สั้นลง
  • ไม่ควรกดรีโมท ในขณะที่มีเด็กเล่นอยู่ใกล้ประตู
  • ไม่ควรวาง หรือเก็บรีโมทไว้ในที่มีอากาศร้อนไม่ควรใช้รีโมทในขณะที่มองไม่เห็นประตูเด็ดขาด
  • ไม่ควรวางรีโมทไว้ใกล้มือเด็กระวังอย่าให้รีโมทเปียกน้ำ
  • ระวังอย่าให้รีโมทหล่นกระทบพื้นอย่างรุนแรง
  • ไม่ควรดึง หรือผลักประตูในขณะที่ประตูกำลังเคลื่อนที่
  • ควรเปลี่ยนถ่านในตัวรีโมททุก 6-8 เดือน โดยประมาณ

ข้อควรระวัง และ การดูแลรักษามอเตอร์

เฉพาะรุ่นบานเลื่อน (GLISS 500/600/1000/1300/1500)

อุปกรณ์เสริมประตู ประตูรีโมท ประตูอัตโนมัติ

  • ไม่ควรใช้น้ำฉีดมอเตอร์ หรือ ก่อกองไฟใกล้มอเตอร์
  • หยอดน้ำมันบริเวณเฟืองขับ ( ติดอยู่ที่แกนของมอเตอร์ ) และ เฟือง สะพาน ( ติดอยู่ที่ประตู ) เมื่อพบว่าประตูมีเสียงดัง หรือ ฝืด
  • หมั่นดูแลรักษามิให้มีสิ่งกีดขวางบริเวณรางเลื่อน / ทำความสะอาด
  •  รางประตูสม่ำเสมอหยอดน้ำมัน ตรวจสอบสภาพของล้อเลื่อน และ ล้อประคองให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ
  • คอยระวังอย่าสุนัขปัสสาวะรดมอเตอร์
  • ควรระวังเรื่องมด , แมลงเข้าไปทำรัง และ รบกวนแผงวงจรในมอเตอร์
  •  ควรจะพ่นยากำจัดแมลงรอบฐานมอเตอร์อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง

เฉพาะรุ่นบานสวิง (RAM 30 / 50 / B45/E / TERRA V / NEXUS)

  • ไม่ควรให้มีสิ่งกีดขวางเส้นทางการเคลื่อนที่ของประตูเพราะอาจทำ
  •  ให้เกิดการขัดข้องในการทำงาน ของมอเตอร์
  • หยอดน้ำมันบริเวณบู๊ต ( จุดหมุนหรือบานพับ ) ของประตูเพื่อทำให้ ประตูมีความฝืดน้อยที่สุด
  • หยอดน้ำมันบริเวณจุดยึดของมอเตอร์และบริเวณจุดดึงประตู
  • ควรหยุดใช้งานทันทีที่พบว่า ประตูตก หรือ เคลื่อนที่เสียดสีกับพื้น และ ควรเปลี่ยนกลับไปใช้ระบบมือผลักแทนชั่วคราว
  • ควรหมั่นกวาด ทำความสะอาด บริเวณพื้นถนนสม่ำเสมอ
  • คอยระวังอย่าให้สุนัขกัดสายมอเตอร์หมั่นตรวจตราอยู่เสมอ ๆ
  • ควรระวังเรื่องมด และ แมลงเข้าไปทำรัง และ รบกวนการทำงานของ แผงวงจร ที่บริเวรชุดควบคุม