ปัญหาบ้านทรุด มักพบกันได้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะบ้านเดี่ยวที่มีการสร้างกันมานานหลายปี ส่วนใหญ่มักเกิดจากพื้นดินทรุด หรือชื้น ทำให้รับน้ำหนักตัวบ้านไม่ดีเหมือนในตอนแรก  แต่เป็นปัญหาใหญ่ที่เจ้าของบ้านต้องรีบหาวิธีแก้ปัญหา มิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายทั้งชีวิต และทรัพย์สินของบ้าน  ซึ่งการแก้ไขดินทรุดรอบบริเวณบ้าน  ในเบื้องต้นดินทรุดก็สามารถเพิ่มดิน หรือถมดินเติมเข้าไปนั่นเอง แต่จะสังเกตเห็นว่าดินที่ทรุดต่ำลงรอบๆบ้านจะทรุดลง จนทำให้คานคอดินลอยโผล่ขึ้นมา พอเรามองดูจะเห็นเป็นโพรงเข้าไปใต้พื้นบ้าน  ซึ่งก่อนทำการถมดินก็ต้องปิดรูใต้คานนี้ก่อน  เพื่อกันไม่ให้ดินที่ถมใหม่ไหลเข้าไปในโพรงใต้พื้นอีกโดยเฉพาะในหน้าฝน  ฝนจะชะดินเข้าไป  ที่เป็นโพรงอย่างนี้ก็เพราะว่าภายในคานคอดินใต้พื้นบ้านที่ทำพื้นบ้าน โดยใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปซึ่งจะใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปวางพาดบนคานเลย โดยไม่ได้ถมดินเข้าไปในช่องคานให้เต็ม  แต่ดินนอกตัวบ้านก็จะถมขึ้นมาให้สูงเกินท้องคานขึ้นมาเพื่อจะได้ไม่เห็นใต้ท้องคาน พอดินด้านนอกยุบก็เลยมองเห็นโพรงใต้ท้องคานนั่นเอง  โดยตัวพื้นบ้านจะวางอยู่บนคานคอดิน,คานคอดินก็จะอยู่บนเสาตอม่อ, เสาตอม่อก็จะอยู่บนฐานราก, ฐานรากก็จะอยู่บนเสาเข็ม, เสาเข็มก็จะอยู่บนขั้นดินแข็งที่อยู่ลึกลงไปนั่นเอง ดังนั้นดินที่อยู่ใต้พื้นตัวบ้านก็จึงไม่มีผลอะไรกับโครงสร้าง เขาจึงไม่ถมดินในช่องคานคอดินใต้พื้นบ้านเพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน  แต่ใช้วิธีถมด้านนอกรอบๆตัวบ้านเท่านั้น ถ้าถมแน่นดินไม่ยุบจนเห็นโพรงใต้ท้องคานก็แล้วไป แต่ถ้ายุบจนเห็นเป็นโพรงเจ้าของบ้านก็ต้องถมดินเพิ่มเองเพราะมันมักจะเป็นหลังจากบ้านหมดประกัน

ปัญหาบ้านทรุด ปัญหาบ้านทรุด

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับวิธีแก้ไขดินทรุดรอบบริเวณบ้าน

  • ลูกหมู4นิ้วพร้อมใบชนิดเหล็ก (ที่ใช้ตัดกระเบื้อง)
  • ค้อน สำหรับตอกแผ่นยัดลงไปในดิน
  • เสียม เอาไว้ขุดแซะเปิดดิน
  • ตะปู เอาไว้ตอกแผ่นยึดกับผนังบ้าน (จะตอกหรือไม่ตอกก็ได้เพราะดินที่เราถมเพิ่มเข้าไปก็จะดันแผ่นให้ติดกับผนังบ้านอยู่แล้ว

สรุป ปัญหาบ้านทรุด

  • จะทราบได้อย่างไรว่าบ้านเกิดการทรุด หมายถึงการทรุดตัวที่ผิดปกติ เช่น ฐานรากของบ้านทรุดตัวไม่เท่ากัน หรือฐานรากของบ้านทรุดตัวตามกันจนบ้านเอียงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง สำหรับกรณีฐานรากของบ้านทรุดตัวไม่เท่ากันจะทำให้บ้านแตกร้าว ตำแหน่งที่จะแตกร้าวเป็นอันดับแรกคือผนัง เพราะผนังของบ้านส่วนใหญ่เป็นอิฐก่อฉาบปูนจึงแตกร้าวได้ง่ายที่สุด และส่วนที่จะแตกร้าวตามมาคือ คาน พื้น และเสา รอยร้าวที่เกิดแต่ละตำแหน่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไป แต่ที่เหมือนกันคือเป็นรอยร้าวที่คมลึกมองเห็นเด่นชัดและมีทิศทางที่แน่นอน รอยร้าวจึงเป็นข้อสังเกตที่จะบ่งชี้ว่ามีปัญหาหรือไม่ ลักษณะของรอยร้าวและวิธีตรวจแก้ไขบ้านทรุด ซ่อมบ้านทรุด

 

  • สำหรับกรณีบ้านทรุดเอียงซึ่งมักจะเกิดจากฐานรากตัวใดตัวหนึ่งรับน้ำหนักบรรทุกมากแล้วเกิดการทรุดตัวดึงฐานรากตัวอื่นให้ทรุดตัวตามไปด้วยนั้น สภาพการทรุดตัวเช่นนี้โครงสร้างของบ้านไม่เกิดแรงดึงรั้งกันจึงมักจะไม่แตกร้าวอย่างเช่นกรณีแรก และด้วยเหตุที่ไม่มีรอยร้าวให้พบเห็นเจ้าของบ้านจึงคิดว่าไม่มีปัญหาอะไร กว่าจะทราบบ้านก็ทรุดเอียงไปมากแล้ว การแก้ไขบ้านทรุด ซ่อมบ้านทรุดปัญหาบ้านเอียงยุ่งยากกว่าแก้ไขบ้านที่มีปัญหาฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน เพราะต้องผ่านขั้นตอนการเสริมเสาเข็มแล้วยกบ้านให้ตั้งตรงใหม่ เสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการทำงานมากกว่า

ปัญหาบ้านทรุด

  • ข้อสังเกตสำหรับบ้านทรุดเอียงที่สามารถตรวจสอบและแก้ไขบ้านทรุด ซ่อมบ้านทรุดได้แต่เนิ่นๆ คือ ทดลองวางวัสดุทรงกลมที่พื้นแล้วดูว่าวัสดุนั้นกลิ้งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอยู่เสมอหรือไม่ หากกลิ้งไปในทิศทางหนึ่งทิศทางใดและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งพื้นชั้นล่างและชั้นบนแสดงว่าบ้านมีปัญหาทรุดเอียง ลองเปิดประตูอ้าค้างไว้หากประตูหมุนอ้าออกหรือปิดเองในทิศทางเดิมเสมอ และเกิดขึ้นทั้งชั้นล่างและชั้นบนก็เป็นข้อสังเกตได้ว่าบ้านทรุดเอียง หรือสังเกตจากระดับน้ำในตู้ปลา(ถ้ามี)ว่าอยู่สูงจากฐานตู้เท่ากันหรือไม่ หากไม่เท่ากันควรเริ่มตรวจสอบว่าเกิดจากอะไร จะเป็นเพราะบ้านทรุดได้หรือไม่จากช่างซ่อมบ้านทรุด แก้ไขบ้านทรุด

ปัญหาบ้านทรุด

  • มีวิธีการตรวจสอบโดยใช้กล้องสำรวจที่มีความละเอียด การสำรวจวิธีนี้จะใช้ไม้บรรทัดที่มีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรติดกับเสาของบ้าน แล้วใช้กล้องสำรวจตรวจวัดค่า การตรวจวัดค่าจะกระทำอย่างน้อย 3 ครั้ง สำรวจครั้งแรกเป็นการบันทึกค่าเริ่มต้น สำรวจครั้งที่ 2 และ 3 จะบันทึกค่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แล้วนำมาคำนวณหาว่ามีฐานรากใดที่ทรุดตัวผิดปกติและทรุดตัวมากน้อยเท่าใด การสำรวจวิธีนี้จะทำให้ทราบว่าฐานรากตำแหน่งใดที่ควรทำการแก้ไข โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีนี้เมื่อพบว่าบ้านเกิดรอยแตกร้าวในลักษณะที่น่าจะเป็นเพราะฐานรากทรุดตัวผิดปกติ ซึ่งจะทำให้ทราบผลที่แน่นอนและตัดสินใจได้ว่าควรแก้ไขหรือยังทีมช่างแก้ไบ้านทรุด ซ่อมบ้านทรุด

ปัญหาบ้านทรุด

  • ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขบ้านทรุด ซ่อมบ้านทรุด ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขฐานรากที่ทรุดตัวขึ้นอยู่กับจำนวนเสาเข็มที่เสริม ถ้าเสริมด้วยเสาเข็มเหล็กที่ติดตั้งโดยใช้แม่แรงไฮดรอลิก เป็นเหล็กกลมกลวงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 ซม.ความลึกประมาณ 18  20 ม. ซึ่งเหมาะสำหรับบ้าน 2 – 3 ชั้น ราคาต่อต้นจะอยู่ราวๆ 35,000 – 40,000 บาทต่อต้น หากเป็นเสาเข็มเหล็กหน้าตัดรูปตัว H ราคาจะสูงขึ้นอีกประมาณต้นละ 1,500- 2,500 บาท ส่วนจะเสริมจำนวนกี่ต้นต่อฐานควรปรึกษาวิศวกรก่อนจะเป็นการดี