ต้องยอมรับว่า สภาพอากาศในปัจจุบันมีความแปรปรวน และมีอนุภาพที่รุนแรงขึ้นทุกวัน เกิดขึ้นทั้งทั่วโลก ทำให้เกิดภัยพิบัติหลายชนิดตามมาทั้งน้ำท่วม,หิมะตกหนัก,พายุ,ดินถล่ม หรือแผ่นดินไหว เราไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร  แต่สิ่งที่ทำได้ก็คือ การเตรียมตัว และรับมือป้องกันด้วยการมองการณ์ไกลว่าอาจจะเกิดปัญหาใด และเตรียมพร้อมหาวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และให้ความเสียหายในทรัพย์สินได้น้อยที่สุด  โดยมีวิธีเบื้องต้นในการปกป้องบ้านของเราให้พร้อมรับมือจากภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เตรียมพร้อมให้ บ้านยุคใหม่ รับมือกับภัยพิบัติ

บ้านยุคใหม่

วิธีเบื้องต้นของ บ้านยุคใหม่ ในการรับมือภัยพิบัติ

  • การออกแบบให้มีมาตรฐาน  และแข็งแรง ตัวอย่างเช่น ยึดรั้งชิ้นส่วน อย่าง เสากับฐานราก เสากับคาน ออกแบบเสาให้แข็งแรงมีขนาดโตพอ ยึดโยงส่วนอาคารกันโย้ และข้อต่อต่างๆให้แข็งแรง รวมถึงมีวิศวกรควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน
  • โครงสร้างที่ดี ควรจะวางตำแหน่งเสาให้มีความสมมาตรในแกนหลักทั้งตามยาวและตามขวางของอาคาร หากเป็นอาคารสูง ควรมีกำแพงรับแรงเฉือนหลายชิ้น วางในตำแหน่งที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอตลอดผังอาคาร โดยไม่กระจุกตัวอยู่ในบริเวณเดียว
  • หลังคาเบาบ้านไม่ถล่ม บ้านที่มีหลังคาหรือส่วนบนของบ้านหนักเกินไป ไม่ว่าจะด้วยวัสดุที่ใช้ทำ หรือการมีสิ่งของบรรทุกอยู่มาก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวหลังคามีโครงจะถล่มลงมาได้ง่ายกว่าอาคารที่มีหลังคาน้ำหนักเบา รวมไปถึงการใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่น เช่น ไม้ หรือเหล็ก ก็จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงมากขึ้นด้วย
  • แยกกันสาดจากหลังคา ไม่ควรให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของกันสาดเชื่อมต่อกับหลังคา เพราะหากเกิดความเสียหายกับกันสาดก็จะไม่ส่งผลไปถึงหลังคา นอกจากนี้ไม่ควรออกแบบชายคาที่ยื่นยาวเกินไป เพราะจะเพิ่มพื้นที่ในการปะทะของลมให้มากขึ้น และก็จะเกิดความเสียหายมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงกระจก ควรหลีกเลี่ยงการใช้กระจกมาทำเป็นประตูและหน้าต่าง ลองเลือกใช้ไม้ อะลูมิเนียม เหล็ก หรือพลาสติกแทน แต่หากต้องการจะใช้จริง ๆ ก็ควรเป็นกระจกนิรภัย เพราะเมื่อแตกแล้วจะแตกละเอียดเป็นเม็ดเล็ก ๆ หรือเลือกกระจกลามิเนตที่มีฟิล์มสอดอยู่ตรงกลาง เวลาแตกก็จะไม่หล่นลงมา เพราะมีฟิล์มป้องกันอยู่เปิดออกแข็งแรงกว่า

บ้านยุคใหม่

นอกจากนี้แล้วหลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ล่าสุดมหาวิทยาลัยลีดส์ (Leeds) ประเทศอังกฤษ ได้พัฒนาผนังบ้านชนิดพิเศษที่มีอนุภาคนาโนโพลิเมอร์ผสมอยู่ภายใน  โดยนักวิจัยได้ใช้นาโนเทคโนโลยี และเทคนิคการติดแถบ RFID ในการสร้างบ้านที่ซ่อมแซมตัวเอง  เริ่มที่ในประเทศกรีซ โดยผนังของบ้านประกอบด้วยอนุภาคนาโนที่จะกลายสภาพเป็นของเหลวเมื่อถูกบีบอัด หรือภายใต้แรงกดดัน จะไหลไปตามรอยแตก จากนั้นจะเปลี่ยนแปลงกลายเป็นของแข็งเพื่อเชื่อมประสานรอยแตกเข้าด้วยกัน

บ้านจะประกอบด้วยโครงสร้างเหล็ก และแผ่นคอนกรีตที่มีความแข็งแรงสูง  โดยบ้านหลังนี้ยังมีเซ็นเซอร์ไร้สาย ไร้แบตเตอรี่ รวมทั้งแถบคลื่นวิทยุสำหรับ เพื่อระบุตำแหน่ง โดยมหาวิทยาลัย Leeds ได้พัฒนาขึ้นเอง เพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับบ้าน เช่น แรงกดดัน แรงสั่นสะเทือน อุณหภูมิ ความชื้น และระดับก๊าซ จะมีการทำงานเมื่อมีปัญหาหรือความผิดปกติภายในบ้าน ซึ่งเครือข่ายเซ็นเซอร์อัจฉริยะที่ติดตั้งไว้ภายในจะส่งเสียงเตือนขึ้น  ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านสามารถอพยพออกจากบ้านได้ทันท่วงที

บ้านยุคใหม่รับมือภัยพิบัติ