ด้วยความที่มอเตอร์ในระบบ ประตูอัตโนมัติ มีหลากหลายประเภท จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีการศึกษา และเลือกใช้งานให้ถูกต้อง รวมถึง น้ำหนักประตูอัตโนมัติ ด้วย เพื่อให้เข้ากับประตูอัตโนมัติ เพราะตัวมอเตอร์เป็นแรงถือผลักให้ประตูขับเคลื่อนไปได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การคำนวณมอเตอร์ให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

น้ำหนักประตูอัตโนมัติ

และเพื่อศึกษาน้ำหนักของประตูอัตโนมัติเพื่อกำหนดขนาดของมอเตอร์ให้เหมาะสม ( ถ้าเป็นช่างทำประตูบานนั้นเอง คำนวณได้จากน้ำหนักของวัสดุที่ทำประตูบานนั้นได้  ถ้าไม่ใช่ช่างทำประตูบานนั้น แนะนำให้ใช้ค่าประมาณการ )

การกำหนดตามขั้นตอนการคำนวณ น้ำหนักประตูอัตโนมัติ คือ

  1. การกำหนดน้ำหนักประตูเปล่าจากชนิดของประตู ซึ่งเป็นน้ำหนักโดยประมาณ ( ใช้ค่าเฉลี่ยความสูงประตู 2 เมตร )
  • ประตูอัลลอยด์ น้ำหนักประมาณ 180 กก./ม.
  • ประตูเหล็กกล่อง น้ำหนักประมาณ 80 กก./ม.
  • ประตูเหล็ก+ไม้ น้ำหนักประมาณ 160 กก./ม.
  • ประตูสแตนเลส น้ำหนักประมาณ 60 กก./ม.
  • ประตูสแตนเลส น้ำหนักประมาณ 140 กก./ม.

ตัวอย่าง…ประตูเหล็ก+ไม้ ขนาดความกว้าง 4 ม. ดังนั้นประตูเปล่าจะหนัก 640 กก.

2. การกำหนดค่าความฝืด ( Friction Factor ) ของประตูซึ่งมักจะเกิดจากแนวรางที่คด ล้อประคองที่เสา ลูกปืนล้อที่แตก สนิม  ฯลฯ

  • ประตูใหม่ ค่าความฝืด 1.25
  • ประตูเก่า ค่าความฝืด 1.5

ตัวอย่าง …บ้านที่มีประตูใหม่

วิธีคำนวณ…ให้นำน้ำหนักประตูเปล่าข้อ 1. มาคูณกับค่าความฝืดข้อ 2.ได้ 640 x 1.25 = 800 กก.
น้ำหนักประตูอัตโนมัติ

เราสามารถคำนวณขนาดของมอเตอร์ที่จะรับน้ำหนักประตูนั้นได้จาก ความยาวของประตูรั้วส่วนที่เลื่อน(เมตร) x น้ำหนักประตูรั้ว(กิโลกรัม) = ขนาดของมอเตอร์ที่ใช้ (กิโลกรัม)

ด้วยน้ำหนักของประตูที่หนักมาก ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก จึงต้องมีการปรึกษาผู้ชำนาญ หรือช่างที่มีประสบการณ์ ซึ่งไม่แนะนำให้ติดตั้งเอง

และสำหรับบ้านเก่าที่มีรั้วอยู่แล้วควรพิจารณารุ่นที่ติดตั้งง่าย โดยเลือกรุ่นที่มีชุดควบคุมบิลท์อินในมอเตอร์ ส่วนราคามอเตอร์ แบบบานเลื่อนราคาไม่สูงนัก แต่บานสวิงมีราคาที่แพงกว่า เพราะต้องใช้มอเตอร์ถึง 2 ชุด