รั้วบ้าน

ถือได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบ้าน ที่ถือเป็นปราการที่กั้นระหว่างตัวบ้าน  กับบ้านหลังอื่นหรือพื้นที่สาธารณะ เพื่อเป็นการบอกอณาเขตของบ้านเรา ทั้งยังช่วยกั้นพื้นที่ในการรักษาความปลอดภัย จากทั้งสัตว์ และบุคคลภายนอก แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมทุกวันนี้  สิ่งไม่พึงประสงค์ต่างๆจึงทำให้เจ้าของบ้านมี “การปรับปรุงรั้วบ้านให้สูงขึ้น” ซึ่งมีเรื่องต่างๆ ต้องพิจารณา ได้แก่ ความสูง ความโปร่ง ความสวยงาม รวมถึงปัจจัยสำคัญคือ สภาพรั้วบ้านเดิม น้ำหนักวัสดุ และการติดตั้ง  โดยโครงสร้างของรั้ว  อาจทำขึ้นอย่างง่าย ๆ เพียงเพื่อให้เห็นเป็นเส้นแบ่งอาณาเขต เช่น อาจเป็นเพียงการปักเสาไม้แล้วขึงด้วยเชือกหรือ ลวดหนามหรืออาจจะเป็นรูปแบบอื่นที่ทำขึ้นง่าย ๆ  โดยไม่ต้องมีโครงสร้างอะไรที่แข็งแรง

หลักการสร้างรั้วบ้าน

หลักการสร้างรั้วบ้าน

โดยหลักแล้วรั้วบ้านในยุคนี้ที่แทบทุกบ้าน  นิยมใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อความมั่นคง แข็งแรง โดยใช้ฐานรากแบบใช้เสาเข็มหกเหลี่ยมสั้น เพราะไม่ต้องรับน้ำหนักมาก ระยะเสาประมาณ 2-4 เมตร แล้วแต่วิศวกร   มีการทำโครงสร้างเป็นแนวยาวต่อเนื่องกันไป  แต่ข้อควรระวังในกรณีที่ก่อสร้างเป็นแนวยาวมากๆ และพื้นที่ก่อสร้างเป็นพื้นที่ระดับสูงต่ำไม่เท่ากัน  ควรแบ่งช่วงก่อสร้าง โดยแยกโครงสร้างให้ขาดจากกัน ป้องกันการแตกร้าว เนื่องจากการทรุดตัวของดิน ที่สำคัญคือ อย่าสร้างรั้วโดยไม่ตอกเข็ม เพราะอาจเกิดบ้านทรุดได้  และอีกอย่างของการสร้างรั้วบ้าน เพื่อเสริมสิริมงคลตามความเชื่อของคนไทย โดยว่ากันว่า ในหลักฮวงจุ้ย มีอยู่หลากหลายข้อให้คำนึง แต่หลักๆแล้วเชื่อว่า การสร้างรั้วถาวรก่อนตัวบ้านจะเป็นการปิดกั้นความเจริญรุ่งเรืองของผู้อยู่อาศัย นอกจากนี้ รั้วบ้านต้องไม่สูงเกินไป เพราะจะทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกเหมือนถูกกักขัง  โดยเรื่องความสูงของรั้วก็มีกำหนดในกฎหมายว่า  รั้วบ้านที่ติดทางสาธารณะ ต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร

หลักการสร้างรั้วบ้าน

หลักการสร้างรั้วบ้าน

 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการทำรั้ว และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรั้ว

  •  อย่าแรกในการทำรั้วควรมีการกำหนดรูปแบบ และรายละเอียดด้านโครงสร้างของฐานรากอยู่ใน แบ บ้าน  ที่ต้องมีการศึกษาถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่บริเวณโดยรอบ ว่ามีสภาพของดินเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ออกแบบโครงสร้างของฐานอย่างเหมาะสม  การทำรั้วด้วยตนเองอาจทำได้ แต่การทำรั้วด้วยตนเองนั้น อาจมีปัญหาตามมาในเรื่องของปัญหารั้วทรุดหรือเอียงในภายหลังได้ เนื่องจากการวางฐานรากที่ไม่แข็งแรงพอ ปัญหานี้มักเกิดขึ้นโดยเฉพาะรั้วของบ้านที่ข้างเคียงเป็นคูน้ำ หรือมีผิวหน้าดินที่อยู่ลึกลงไป
  •  มาพูดถึงประตูรั้วที่ต้องคำนึงอีกเช่นกัน  โดยส่วนใหญ่แล้วที่ใช้กับทางรถเข้าบ้าน  มักจะทำด้วยเหล็กหรือโลหะผสม ( alloy) ซึ่งโดยทั่ว ไปแล้วต้องสั่งทำกับร้านที่รับทำประตูประเภทนี้โดยเฉพาะ หลักจากนั้นร้านจึงนำมาติดตั้งโดยการ ยึดประกอบเข้ากับเสาประตู  โดยต้องมีการนัดช่างทำประตูมาปรึกษาพูดคุยก่อนที่ทำการหล่อเสาประตูว่าจะทำประตูแบบ ไหน จะยึดติดเข้ากับเสาอย่างไร เพื่อให้ช่างก่อสร้างที่ทำได้เตรียมการโดยการทำเหล็กให้ยื่นออกมานอกเสา ด้วยขนาด และตำแหน่งที่สอดคล้องกับบานประตูที่ติดตั้ง เพื่อให้แข็งแรง และดูเรียบร้อย
  •  การทำรั้วโดยเฉพาะรั้วหน้าบ้าน สำหรับบ้านที่มีตัวบ้านปลูกชิดกับแนวรั้วบ้านอาจจะเลือกทำรั้ว ทึบเพื่อผลในด้านความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว แต่ถ้าตัวบ้านปลูกห่างจากรั้วหน้าบ้านจะทำรั้วแบบ ไหนก็ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้มิได้ถือเป็นกฎเกณฑ์ที่ตายตัวแต่อย่างใด เพียงแต่เสนอไว้เป็นข้อพิจารณาเท่านั้น เพราะเจ้าของบ้านบางรายอาจมองข้ามเรื่องเหล่านี้ไป