อย่างที่เราทราบกันว่า ประตูรีโมทบานสวิง มีการนิยมที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งลักษณะเบื้องต้น จะเป็นกำแพงทั้ง 2 ด้าน โดยมีการออกแบบให้สามารถ เปิด–ปิด ประตูที่นุ่มนวล  และสามารถใช้กับหน้างานเดิมที่เป็นบานเฟรมได้ หรือเป็นแบบปุ่มกด Switch wi-fi โดยประตูจะถูกเปิดด้วยการสั่งงานจาก sensor  ที่ใช้ motor เป็นตัวขับเคลื่อนกลไก มีการใช้สปริงในการช่วยปิด

คุณสมบัติที่น่าสนใจของ ประตูรีโมทบานสวิง

  • ตั้งเวลาให้ประตูปิดเองอัตโนมัติเมื่อประตูเปิดสุด เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการกดรีโมทปิดประตู แต่ตั้งเวลาให้ประตูปิดแทน
  • ปรับความแรง หรือแรงขับของมอเตอร์ได้ ปรับให้เหมาะกับน้ำหนักของประตู ถ้ามอเตอร์แรงมากอาจเป็นสาเหตุให้บูสประตูฉีกได้
  • ต่อร่วมกับอุปกรณ์ป้องกันประตูชนสิ่งกีดขวางได้อาทิ Infra red photo Sensor
  • ปรับความเร็วในการเปิด-ปิดของประตูได้ ปรับให้เหมาะสมเพื่อความปลอดภัย และอายุการใช้งานของประตู

ทั้งนี้ประตูที่มีทิศทางการเปิด-ปิด ของประตูเป็นแบบผลักโดยมีปลายสุดของ ประตูเป็นจุดหมุน ซึ่งชนิดของ อุปกรณ์มอเตอร์ที่จะนำมาติดตั้งควบคุมประตูบานสวิง ได้แก่

ประตูรีโมทบานสวิง

 ประตูรีโมทบานสวิงแบบฝังพื้น (Underground type)

–   เป็นแบบที่มีความสวยงามของ ประตูรีโมท เนื่องจากไม่มีส่วนที่บดบังความงามของประตู เป็นประตูที่สามารถเปิดได้กว้างมากกว่า 110 องศา เพราะจุดหมุนอยู่ที่พื้น ที่สำคัญลดความเสี่ยงในการถูกรถชน หรือสิ่งของชนเข้ากับตัวอุปกรณ์มอเตอร์  และยังมีรุ่นที่รองรับน้ำหนักได้มาก (มากกว่า 400 กก.) การบำรุงรักษาสามารถ ทำได้ง่ายไม่มีความซับซ้อน

โดย ประตูรีโมทบานสวิงแบบฝังพื้น ยังมีมอเตอร์ที่สามารถใช้การได้แม้กระทั่งไฟฟ้าดับ ซึ่งมีคุณสมบัติของมอเตอร์ประเภทนี้ มีแบตเตอรี่สำรองไฟ ทั้งยังเป็นมอเตอร์ระบบเกียร์บล็อกแช่น้ำมัน ที่มีระบบ Safety Auto reverse ซึ่งประตูจะถอยกลับเมื่อชนสิ่งที่กีดขวาง โดยมอเตอร์นี้มีเทคโนโลยี DSPS ควบคุมการวัดเฟืองด้วยระบบดิจิตอล และหากมีการใช้รีโมทสามารถใช้ได้ไกลถึง 30-50 เมตร

ประตูรีโมทบานสวิงแบบแขน (Arm type)

–  มีทั้งแบบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (A/C) โดยมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับนิยมใช้กับประตูที่มีขนาดใหญ่หรือมี น้ำหนักตั้งแต่ 500 กก. ขึ้นไป และมีราคาแพงกว่า เมื่อเทียบกับมอเตอร์ แบบกระแสตรงที่ใช้กับประตูที่น้ำหนักไม่เกิน 400 กก. แต่นิยมใช้กับประตูที่มี ขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักตั้งแต่ 800 กก. ขึ้นไป

บานสวิงแบบแขน

และด้วยลักษณะโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน  มีรูปร่างกะทัดรัด ทำให้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับเป็นที่นิยมแพร่หลาย และหาซื้อได้ง่ายกว่าแบบอื่น แต่การควบคุมความเร็วของมอเตอร์นั้นทำได้ยาก จึงต้องใช้อุปกรณ์ทาง Power Electronics อย่าง Inverter ที่มีราคาสูงช่วยควบคุม ส่วนมอเตอร์ที่ใช้ ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) โดยมากมีการใช้กับประตูที่ขนาดไม่ใหญ่นัก มอเตอร์ชนิดนี้มีความสามารถทั้งควบคุมความเร็วของมอเตอร์ ตอบสนองได้รวดเร็ว และปรับความเร็วได้หลายระดับ

วิธีการตรวจสอบประตูก่อนการติดตั้งมอเตอร์บานสวิง

  • ควรตรวจสอบบู๊ซ (ข้อพับประตู) ว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่
  • ควรตรวจการเปิด-ปิดของประตูเพื่อตรวจสอบความฝืดของประตูเพราะมีผลต่ออายุการใช้งานของมอเตอร์
  • ควรตรวจสอบความสมดุลของประตู (ประตูตก) เพราะมีผลทำให้มอเตอร์เสียหายได้

บานสวิงฝังพื้น

อีกเรื่องที่น่ารู้ คือ อายุการใช้งานของอุปกรณ์มอเตอร์ทั้งแบบบานเลื่อน และบานสวิงนั้นสามารถใช้ได้นานถึง 10 ปี หากดูแลรักษาประตูให้อยู่ในสภาพปกติ เช่น การปรับตั้งค่าที่รับน้ำหนักประตูสำหรับประตูรีโมทบานสวิง ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่สำคัญที่สุดซึ่งการใช้งานระยะยาว เพราะหากละเลย ประตูจะเกิดความฝืด เป็นเหตุให้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานหนักกว่าปกติ หรือเรียกว่า (Overload) และสำหรับประตู