การสร้างบ้าน Steel Frame เป็นอีกหนึ่งของการสร้างบ้านที่นิยมใช้กัน ถือว่า เป็นรูปแบบบ้านในใหม่ปัจจุบัน โดยบ้านชนิดนี้เป็นบ้านที่ใช้โครงสร้างหลักเป็นเหล็กกล้าเคลือบป้องกันสนิม   AZ150 G550  หรือเหล็กกล้าแผ่นเรียบ เคลือบโลหะผสมป้องกันสนิมโดยกรรมวิธีจุ่มร้อนซึ่งประกอบด้วยอลูมิเนียม 55 % สังกะสี 43.40% และ ซิลิคอน 1.60 % หลังจากนั้นจะผ่านการคำนวณโครงสร้างด้วยโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการสร้างบ้านโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นโปรแกรมครบวงจรที่สามารถทำงานการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ตั้งแต่การออกแบบอาคาร การออกแบบรายละเอียด การวิเคราะห์ออกแบบโครงสร้างให้มีความเหมาะสม โดยข้อมูลทั้งหมดจะเชื่อมต่อกับเครื่องจักรให้สามารถขึ้นตัดเหล็ก

การสร้างบ้าน Steel Frame

การก่อสร้างรูปแบบ Steel Frame

โดยการสร้างบ้าน Steel Frame ทำให้ไม่เกิดการเสียวัสดุ พร้อมกับพิมพ์หมายเลขกำกับลงในเหล็กแต่ละเส้นเพื่อนำไปประกอบตามแบบได้อย่างสะดวก และ รวดเร็ว โดยไม่มีวัสดุเศษมากเหมือนการก่อสร้างแบบเดิม จากนั้นตัดเหล็กเชื่อมต่อกับเครื่องจักร แล้วจัดส่ง และ ประกอบเป็นโครงสร้างก่อสร้างระบบผนังรับน้ำหนัก อาคารลักษณะนี้มีน้ำหนักเบากว่าอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารมวลน้อยช่วยลดการเก็บสะสมความร้อน  ก่อสร้างได้รวดเร็ว โครงสร้างสามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวสามารถเลือกวัสดุปิดผิว พื้น ผนัง และ หลังคา ให้เหมาะสมกับ ความต้องการ และ งบประมาณได้

การสร้างบ้าน Steel Frame

การก่อสร้างรูปแบบ Steel Frame

ข้อดีของ การสร้างบ้าน Steel Frame

  • ใช้แรงงานงานน้อย และ ช่างทั่วไปสามารถสร้างได้ เพราะโครงสร้างติดตั้งง่าย เหมือนการต่อ LEGO ต่อตามแบบ
  • งบประมาณไม่ปานปลาย เนื่องจากวัสดุทุกอย่าง สามารถคำนวณวัสดุที่ใช้ทั้งหมดจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความแม่นยำสูงมาก
  • การวางแผนการก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ
  • น้ำหนักเบากว่า แข็งแรงกว่า ต้านแผ่นดินไหวได้
  • ก่อสร้างรวดเร็ว เร็วกว่า บ้าน ก่ออิฐ ฉาบปูน ประมาณ 3 เท่า
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อเสียที่เป็นของ การก่อสร้างรูปแบบ Steel Frame คือ

  • ค่าที่สูงกว่าบ้านคอนกรีต
  • ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในเมืองไทย
  • ความเข้าใจผิด ๆ เพราะว่าเปรียบเทียบบ้าน  Steel Frame กับบ้านน๊อคดาวน์ตามท้องตลาด ที่ใช้เหล็กกล่องเชื่อมในการก่อสร้าง ซึ่งมาตรฐานกับคุณภาพแตกต่างกันมาก
การสร้างบ้าน Steel Frame

การก่อสร้างรูปแบบ Steel Frame